ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู
ประเภทของซอฟต์แวร์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
- การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
- ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
- โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
- การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
- ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
- ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
- การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
- ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
- ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี
ซอฟต์แวร์แตกต่างกับไลบรารี คือซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผลด้วยตนเองได้
ซอฟต์แวร์ระบบ
คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งช่วยให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์เนื่องจากระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับฮาร์ดแวร์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับเข้า และหน่วยส่งออก ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั้งสิ้นเนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงานถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ( load ) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น
ระบบปฏิบัติการกับการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน เช่น การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล
ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน เช่น การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1) ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส
2) ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียูและแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98
3) ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นท์ที
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งถ้าโปรแกรมพัฒนาขึ้น เพื่อความต้องการเฉพาะขององค์การใดองค์การเหนึ่ง จะเรียกซอฟต์แวร์ประเภทนี้ว่า ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน (custom program หรือ tailor-made software) ซึ่งข้อดีคือโปรแกรมสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความประสงค์ ของหน่วยงาน แต่ข้อเสียคือซอฟต์เวร์ประเภทนี้จะใช้เวลาในการพัฒนานาน และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับงานทั่ว ๆ ไปที่เรียก general-purpose software หรือบางครั้งเรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป (package software) เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (commercial software) ที่ผู้ใช้สามารถซื้อไปประยุกต์ใช้งานได้ทันที
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่นิยมใช้สำหรับงานทั่วไป สามารถแบ่งตามประเภทของงานได้ดังนี้
โปรแกรมประมวลผลคำ (word processor)
เป็นโปรแกรมด้านการจัดทำเอกสาร นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า word ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อการผลิตเอกสาร ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายงานจดหมาย บันทึกข้อความ หนังสือ และ สิ่งพิมพ์ทั่วไป โปรแกรมประมวลผลคำในปัจจุบันมีความสามารถในการใส่รูปภาพ ตาราง อักษรศิลป์ต่างๆ รวมทั้งยังมีเครื่องมือช่วยในการทำงานได้อย่างสะดวก เช่น ระบบการตรวจตัวสะกดและไวยากรณ์ เป็นต้น โปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Word, WordPerfect และ Lotus Word Pro เป็นต้น
โปรแกรมประมวลผลคำ (word processor)
เป็นโปรแกรมด้านการจัดทำเอกสาร นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า word ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อการผลิตเอกสาร ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายงานจดหมาย บันทึกข้อความ หนังสือ และ สิ่งพิมพ์ทั่วไป โปรแกรมประมวลผลคำในปัจจุบันมีความสามารถในการใส่รูปภาพ ตาราง อักษรศิลป์ต่างๆ รวมทั้งยังมีเครื่องมือช่วยในการทำงานได้อย่างสะดวก เช่น ระบบการตรวจตัวสะกดและไวยากรณ์ เป็นต้น โปรแกรมประมวลผลคำที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Word, WordPerfect และ Lotus Word Pro เป็นต้น
โปรแกรมด้านการคำนวณ (Spreadsheet)
เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะตารางทำการ (Worksheet) เหมาะสำหรับงานการคำนวณตัวเลยในรูปแบบต่าง ๆ ตารางทำการประกอบด้วย ช่องตารางหรือเซลล์ (Cell) ที่เรียงเป็นแถวและคอลัมน์ สามารถป้อข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข และสูตรการคำนวณได้ นอกจากนี้ยังสามารถ ใส่รูปภาพและจัดทำกราฟสถิติได้อย่างสวยงาม ลักษณะงานที่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ เช่น การทำบัญชีงบกำไร – ขาดทุน รายงานการขาย การบันทึกคะแนนนักศึกษา ตัวอย่างซอฟต์แวร์สำเร็จรูปด้านการคำนวณ ได้ Microsoft Excel , Lotus 1-2-3 และ Quattro Pro เป็นต้น
เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะตารางทำการ (Worksheet) เหมาะสำหรับงานการคำนวณตัวเลยในรูปแบบต่าง ๆ ตารางทำการประกอบด้วย ช่องตารางหรือเซลล์ (Cell) ที่เรียงเป็นแถวและคอลัมน์ สามารถป้อข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข และสูตรการคำนวณได้ นอกจากนี้ยังสามารถ ใส่รูปภาพและจัดทำกราฟสถิติได้อย่างสวยงาม ลักษณะงานที่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ เช่น การทำบัญชีงบกำไร – ขาดทุน รายงานการขาย การบันทึกคะแนนนักศึกษา ตัวอย่างซอฟต์แวร์สำเร็จรูปด้านการคำนวณ ได้ Microsoft Excel , Lotus 1-2-3 และ Quattro Pro เป็นต้น
โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (presentation)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยงานด้านการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเป็นการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้เข้าฟังการประชุม สัมมนา หรือการบรรยาย ในการเรียนการสอน โดยทั่วไปนิยมที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปพ่วงต่อกับเครื่องฉายวิดีทัศน์ (LCD projector) หรือจอทีวีขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ฟังที่มีจำนวนมากได้ด้วย
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยงานด้านการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเป็นการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้เข้าฟังการประชุม สัมมนา หรือการบรรยาย ในการเรียนการสอน โดยทั่วไปนิยมที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปพ่วงต่อกับเครื่องฉายวิดีทัศน์ (LCD projector) หรือจอทีวีขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ฟังที่มีจำนวนมากได้ด้วย
โปรแกรมนำเสนอข้อมูล จะมีต้นแบบสไลด์ (Template) ให้เลือกใช้ได้หลายรูปแบบ มีแบบตัวอักษรและรูปภาพประกอบต่าง ๆ จำนวนมาก สามารถใส่เทคนิคและลูกเล่นต่าง ๆ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว แผนผังองค์กร และใช้สื่อประสม เช่น วิดีโอและเสียงประกอบได้
โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft PowerPoint ของบริษัทไมโครซอฟต์ และโปรแกรม Freelance Graphics ของบริษัท Lotus Development เป็นต้น
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างข้อมูล เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูล ตลอดจนการค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้โปรแกรมยังสามารถพิมพ์รายงานได้อย่างสวยงามอีกด้วย
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างข้อมูล เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูล ตลอดจนการค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้โปรแกรมยังสามารถพิมพ์รายงานได้อย่างสวยงามอีกด้วย
ผู้ใช้โปรแกรมยังสามารถประยุกต์โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลกับงานด้านต่าง ๆ เช่น การจัดเก็บข้อมูลลูกค้า สินค้าคงคลัง ข้อมูลบุคลากร เป็นต้น
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Access และ FoxPro เป็นต้น
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Access และ FoxPro เป็นต้น
โปรแกรมด้านงานพิมพ์ (desktop publishing)
เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดหน้าสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ หนังสือ นามบัตร ใบประชาสัมพันธ์ การออกแบบแผ่นพับ (Brochure) โปรแกรมสามารถนำรูปภาพเข้ามาเป็นส่วนประกอบของงานได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้สำหรับงานพับงานพิมพ์ในปัจจุบัน เช่น Adobe PageMaker เป็นต้น
เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดหน้าสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ หนังสือ นามบัตร ใบประชาสัมพันธ์ การออกแบบแผ่นพับ (Brochure) โปรแกรมสามารถนำรูปภาพเข้ามาเป็นส่วนประกอบของงานได้ด้วย โปรแกรมที่ใช้สำหรับงานพับงานพิมพ์ในปัจจุบัน เช่น Adobe PageMaker เป็นต้น
โปรแกรมกราฟิก (graphics)
เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการตกแต่งงานกราฟิกต่าง ๆ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการตกแต่งงานกราฟิกต่าง ๆ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
– โปรแกรมสำหรับตกแต่งภาพ
เป็นโปรแกรมช่วยในการวาดภาพและตกแต่งภาพให้สวยงาม โดยใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเหมือนดินสอ แปรง พู่กัน จานสี และอุปกรณ์ตกแต่ง ภาพอื่น ๆ ที่เลียนแบบของจริง นอกจากนี้ยังสามารถนำภาพที่ได้จากการสแกนภาพด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (scanner) มาเชื่อมต่อในโปรแกรม เพื่อนำมาตกแต่งภาพได้
โปรแกรมด้านกราฟิกที่ใช้ตกแต่งภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ Adobe PhotoShop, Microsoft Paint, CorelDraw เป็นต้น
เป็นโปรแกรมช่วยในการวาดภาพและตกแต่งภาพให้สวยงาม โดยใช้เครื่องมือที่มีลักษณะเหมือนดินสอ แปรง พู่กัน จานสี และอุปกรณ์ตกแต่ง ภาพอื่น ๆ ที่เลียนแบบของจริง นอกจากนี้ยังสามารถนำภาพที่ได้จากการสแกนภาพด้วยเครื่องสแกนเนอร์ (scanner) มาเชื่อมต่อในโปรแกรม เพื่อนำมาตกแต่งภาพได้
โปรแกรมด้านกราฟิกที่ใช้ตกแต่งภาพที่นิยมใช้ ได้แก่ Adobe PhotoShop, Microsoft Paint, CorelDraw เป็นต้น
– โปรแกรมช่วยออกแบบ
เป็นโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โปรแกรมช่วยออกแบบที่นิยมใช้ เช่น AutoCAD ซึ่งสามารถใช้ออกแบบงานต่าง ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ ระบบไฟฟ้า แผงวงจร นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมออกแบบขนาดเล็กกว่า เช่น Generic Cadd และ Design Your Own Home เป็นต้น
เป็นโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โปรแกรมช่วยออกแบบที่นิยมใช้ เช่น AutoCAD ซึ่งสามารถใช้ออกแบบงานต่าง ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ ระบบไฟฟ้า แผงวงจร นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมออกแบบขนาดเล็กกว่า เช่น Generic Cadd และ Design Your Own Home เป็นต้น
โปรแกรมค้นหาข้อมูล (resource discovering software)
โปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างโปรแกรมด้านนี้ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) อาร์ชี (archie) โกเฟอร์ (gopher) เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเวิลด์ไวด์เว็บถือเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่ทุกคนควรรู้จัก ข้อมูลข่าวสารบนเวิลด์ไวด์เว็บเป็นรูปแบบสื่อประสม (multimedia) คือ สามารถดูภาพ อ่านข้อความ ฟังเสียง และดูวิดีโอภายในเว็บไซต์ (Web site) ของแหล่งข้อมูลที่เข้าเยี่ยมชมได้
โปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างโปรแกรมด้านนี้ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW) อาร์ชี (archie) โกเฟอร์ (gopher) เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเวิลด์ไวด์เว็บถือเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่ทุกคนควรรู้จัก ข้อมูลข่าวสารบนเวิลด์ไวด์เว็บเป็นรูปแบบสื่อประสม (multimedia) คือ สามารถดูภาพ อ่านข้อความ ฟังเสียง และดูวิดีโอภายในเว็บไซต์ (Web site) ของแหล่งข้อมูลที่เข้าเยี่ยมชมได้
นอกจากนี้บนเวิลด์ไวด์เว็บยังมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เครื่องมือนี้เรียกว่าเครื่องค้นหา (search engine) ซึ่งบนเว็บไซต์ที่เก็บที่อยู่ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตและเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลอะไรก็ไปยังเว็บไซต์ ของเครื่องค้นหาเหล่านี้ ตัวอย่างเว็บไซต์เครื่องค้นหา
โปรแกรมด้านติดต่อสื่อสาร (communication software)
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้ด้วย การสื่อสารอาจอยู่ในรูปของไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับได้ในทันที สามารถใช้แทนการส่งข้อความ โทรศัพท์ หรือแฟกซ์ เช่น บางองค์การธุรกิจใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการรับ – ส่งใบซื้อสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้ด้วย การสื่อสารอาจอยู่ในรูปของไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับได้ในทันที สามารถใช้แทนการส่งข้อความ โทรศัพท์ หรือแฟกซ์ เช่น บางองค์การธุรกิจใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการรับ – ส่งใบซื้อสินค้าระหว่างประเทศ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
โปรแกรมในกลุ่มด้านการสื่อสาร ได้แก่
– โปรแกรมที่ใช้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารผ่านกระดานข่าวมนนิวส์กรุ๊ป (newsgroup)
– โปรแกรมที่ช่วยในการโอนย้ายโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในเครือจ่ายอินเทอร์มาใช้งานที่เครื่องของตนเองได้ด้วย เช่น FTP (file transfer protocol)
– โปรแกรมที่ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกัน เช่น ICQ,miRC,MS Chat เป็นต้น เป็นการสนทนากันโดยผ่านแป้นพิมพ์หรือสื่อประสมอื่น ๆ โดยสามารถโต้ตอบกันแบบคำต่อคำได้แบบทันทีด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
– โปรแกรมที่ใช้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารผ่านกระดานข่าวมนนิวส์กรุ๊ป (newsgroup)
– โปรแกรมที่ช่วยในการโอนย้ายโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในเครือจ่ายอินเทอร์มาใช้งานที่เครื่องของตนเองได้ด้วย เช่น FTP (file transfer protocol)
– โปรแกรมที่ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกัน เช่น ICQ,miRC,MS Chat เป็นต้น เป็นการสนทนากันโดยผ่านแป้นพิมพ์หรือสื่อประสมอื่น ๆ โดยสามารถโต้ตอบกันแบบคำต่อคำได้แบบทันทีด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility)
เป็นโปรแกรมที่เรียกใช้งานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลรักษาความปลอดภัยและเสถียรภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมสำหรับสำรองข้อมูลที่สำคัญในฮาร์ดดิสก์ (backup) โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมที่ช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ เพื่อสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โปรแกรมตรวจสอบไวรัส โปรแกรมบีบอัดข้อมูล เพื่อเพิ่มเนื้อที่ใช้งานในดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้น หรือโปรแกรมบีบอัดข้อมูลที่ต้องขยายก่อนจึงเรียกใช้งานได้ เช่น WinZip เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมอรรถประโยชน์เหล่านี้หลายโปรแกรม
เป็นโปรแกรมที่เรียกใช้งานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลรักษาความปลอดภัยและเสถียรภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมสำหรับสำรองข้อมูลที่สำคัญในฮาร์ดดิสก์ (backup) โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมที่ช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ เพื่อสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โปรแกรมตรวจสอบไวรัส โปรแกรมบีบอัดข้อมูล เพื่อเพิ่มเนื้อที่ใช้งานในดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ให้มากขึ้น หรือโปรแกรมบีบอัดข้อมูลที่ต้องขยายก่อนจึงเรียกใช้งานได้ เช่น WinZip เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมอรรถประโยชน์เหล่านี้หลายโปรแกรม
ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/ซอฟต์แวร์
ที่มาMUJhttp://www.yahoo.com,http://www.infoseek.com, http://altavista.com, http://thaiseek.com เป็นต้น
โจะใกัที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/ซอฟต์แวร์